ที่มา ลายหยดเทียน

ลายหยดเทียน

ถือว่าเป็นลวดลายที่ถูกพัฒนามาใหม่ที่สุด และร่วมสมัยโดยเกิดขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 9โดดเด่นด้วยการลงสีนูน ผสานกับทองนูน ทำให้ได้ลวดลายและผิวสัมผัสที่แปลกใหม่สันนิษฐานว่าถูกพัฒนามาจากลวดลายแบบแผนของลายข้าวหลามตัด และลายพุ่มข้าวบิณฑ์เดิม หรือพุ่มข้าวบิณฑ์กนกใบเทศ ที่มีหางยอดลักษณะคล้ายเปลวเทียนผสานเข้ากับแบบแผนของลายข้าวหลามตัดมีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดเรียงกันเป็นทอดๆ คล้ายทรงเพชรที่มีหลายเหลี่ยมและมีพลอยเรียงแวววาว มีส่วนยอดหางเปลวไฟอยู่ตรงกลาง ถือเป็นการออกแบบที่ร่วมสมัยและต่อยอดมาจากหลายขนบดั้งเดิม

ตัวอย่างของฟอร์มลายข้าวหลามตัด สีฟ้าและสีเขียว

ลายหยดเทียน ลายหยดเทียน

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าการวางคู่สีก็มีส่วนสำคัญที่ขับเน้นเปลวไฟตรงกลางให้เป็นจุดเด่นโดยวางสีบริสุทธิ์ไว้ใกล้กันและช่วยให้ดวงตาสามารถผสมผสานสีได้ ถือเป็นอีกหนึ่งการพัฒนาความรู้ความสามารถของช่างผูกลายไทยอันน่ายกย่อง ทั้งยังมีวิวัฒนาการทั้งในแง่ของการออกแบบผูกลาย แฝงคติความเชื่อความสัมพันธ์ของพุทธศาสนา และการเลือกใช้คู่สี โดยทั้งลายหยดเทียนและข้าวหลามตัดในปัจจุบันยังถูกประยุกต์นำไปใช้ในงานขึ้นลายผ้า หรือเครื่องเบญจรงค์ ถือเป็นอีกหนึ่งมรดกทางวัฒนธรรมที่น่าเก็บสะสมเป็นอย่างยิ่ง

แถมยังพ่วงไปด้วนคติความเชื่อเรื่องของพุทธศาสนา ดั่งเช่นมีเปลวไฟเพียงดวงเดียวตรงกลางหยดเทียน ที่สะท้อนแสงออกมาเพื่อให้แสงสว่าง คล้ายคลึงกับจากเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนาออกไปสู่รอบนอกดั่งเปลวเทียนที่ให้แสงและปัญญา ปัจจุจันงานพุทธศิลป์หลากหลายชิ้นก็ยังหยิบนำรูปฟอร์มของเทียนมาเปรียบเทียบเชิงสัญลักษณ์ถึงปัญญาและการตื่นรู้ อีกทั้งในการไหว้บูชาของพุทธศาสนานั้น เทียนก็เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำหรับศาสนพิธี การบูชาพระธรรมมักจะใช้เทียนสองเล่ม ทั้งนี้เป็นคติธรรมเทียนเล่มแรกหมายถึง ธรรม คือธรรมมะ เทียนเล่มที่สองหมายถึงวินัยที่พึงปฎิบัติ รวมกันเป็นธรรมวินัย กล่าวคือมีธรรมก็ย่อมต้องมีวินัยเพราะวินัยสื่อถึงธรรมโดยเป็นเครื่องฝึกคนฝึกจิตใจ เพื่อนำคนให้ถึงธรรม “เทียนนั้นจุดแล้วให้ความสว่าง ก็เหมือนกับธรรม รวมทั้งวินัย ที่เป็นเหมือนดวงประทีปส่องสว่าง ทำให้คนมองเห็น คือทำให้เกิดปัญญา มีความรู้เข้าใจ”

ตัวอย่างลายหยดเทียน