ที่มา ลายพุ่มข้าวบิณฑ์

พุ่มข้าวบิณฑ์

เป็นลายที่มีลักษณะตามรูปทรงของข้าวบิณฑบาตนิยมนำมาใส่บนเครื่องเบญจรงค์ในสมัยรัชกาลที่ 2 พุ่มข้าวบิณฑ์เป็นชื่อของ (พุ่มของข้าวบิณฑ์)หรือพุ่มข้าวตอกที่ปั้นเป็นรูปทรงคล้ายดอกบัวตูมใช้เพื่อเส้นบูชานอกจากนี้คำว่าพุ่มข้าวบิณฑ์ทางช่างศิลปะไทยแต่ดั่งเดิมเอง ได้กำหนดเอาลักษณะทรวดทรงภายนอกจากบาตรพระ พุ่มข้าวบิณฑ์จึงถูกจำแนกออกมาหลายลักษณะ ให้ถูกให้ความหมายในการใช้งานแตกต่างกันไปอาทิ
- ทรงพุ่มที่ใช้แต่งยอดหลังคาเรือนยอด โดยปักอยู่ส่วนบนสุดของยอดบุษบก ยอดมณฑป ยอดปราสาท ยอดมงกุฎ
- ทรงพุ่มดอกไม้สดสำหรับจัดพานพุ่มบูชาสักการะ
- เป็นทรงของส่วนยอดเจดีย์ในสมัยสุโขทัย (เจดีย์ยอดทรงข้าวบิณฑ์ )
- เป็นทรงพุ่มดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง
- เป็นชื่อลายอย่างหนึ่งตามลักษณะที่กล่าวไปข้างต้น

ประวัติศาสตร์ของ ลาย/ทรง พุ่มข้าวบิณฑ์ อันยาวนาน

ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ เป็นสถาปัตยกรรมเอกลักษณ์ และเป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะสุโขทัยโดยสันนิษฐานว่าในช่วงเริ่มแรกได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะของทางเขมร และพัฒนามาเป็นแนวทางของตนในระยะเวลาถัดมา โดยเฉพาะลักษณะจำเพาะเด่นๆ ทั้งสามแบบของทรงยอดเจดีย์ คือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ทรงกลมแบบลังกา และทรงทรงปราสาทยอดนอกจากนี้พุ่มข้าวบิณฑ์ยังเป็นลายตั้งต้นของการผูกลายแบบอื่นๆ ที่นำเอาลายพุ่มข้าวบิณฑ์เข้าไปผสมผสาน อาทิเช่น ลายพุ่มข้าวบิณฑ์หน้าสิงห์ ลายพุ่มข้าวบิณฑ์กระหนกใบเทศ หรือลายเขี้ยวยักษ์ที่กล่าวไว้ข้างต้น

สันนิษฐานว่าแต่ก่อนกาลนั้นช่างศิลป์หรือช่างผูกลายนั้นได้แรงบัลดาลใจมาจากรูปทรงธรรมชาติ เช่นพืช สัตว์ ผลหมากรากไม้ (ดั่งเช่นที่กล่าวถึงพุ่มข้าวตอกข้างต้น) ดอกไม้ เปลวไฟ หางไหล มาประดิษฐ์คิดค้นดัดแปลงให้ลวดลายต่างๆ จัดวางจังหวะให้เป็นระเบียบกลมกลืน โดยล้อมาจากฟอร์มของธรรมชาติก่อนแล้วจึงค่อยกลืนไปเป็นรูปทรงจำเพาะ ตามแต่ฝีมือและวิธีการอัตลักษณ์ของแต่ละสกุลสำนักช่างผูกลายมีเกร็ดว่า รูปทรงที่ถือเป็นแบบหลักในการขึ้นลวดลายคือรูปดอกบัวเนื่องจากเส้นรอบนอกรูปทรงของดอกบัว เป็นเส้นลักษณะของเส้นกระหนก จัดเป็นเส้นโค้งอ่อนได้ความสวยงาม การฝึกหัดเขียนลายครั้งแรกจึงต้องเริ่มด้วยการถือหลักรูปทรงลักษณะดอกบัว และอันเป็นการฝึกมือและเขียนเส้นโค้งให้อ่อนช้อยตามไปด้วย

พุ่มข้าวบิณฑ์จึงเป็นทั้งประวัติศาสตร์และความรู้ความสามารถรังสรรค์ของลายไทยอันวิจิตร รวมถึงเป็นการแสดงความสัมพันธ์อันดีกับพุทธศาสนาดั่งเช่นรูปทรงดอกบัวที่กล่าวไปข้างต้น ในพุทธศาสนาที่มักจะถูกนำมาใช้งานพุทธศิลป์ซึ่งเป็นตัวแทนการตื่นรู้ของพระพุทธองค์ การบริโภคหรือครอบครองงานประเภทนี้ยังถือเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมและฝีไม้ลายมือของช่างศิลป์ไทย ในขณะเดียวกันยังช่วยให้ศิลปะหัตกรรมประเภทนี้ดำรงอยู่คู่สังคมต่อไปอีกด้วย

ตัวอย่างลายพุ่มข้าวบิณฑ์