ที่มา ลายเขี้ยวยักษ์

ลายเขี้ยวยักษ์
เป็นลายตั้งตาที่ถูกพัฒนามาจากลาย หน้ายักษ์ โดยหยิบมาเฉพาะส่วนของเขี้ยยยักษ์และถูกพัฒนาผสมผสานกับลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ผ่านภูมิปัญญาของช่างผูกลายไทย โดยลดทอนลายละเอียดบางส่วนเพื่อให้เหมาะสมและผูกลายได้อย่างงดงาม โดยสันนิษฐานว่าลายยักษ์ และ สัตว์หินมพานต์และลายสัตว์จริงได้ถูกผูกเป็นลายลงบนเครื่องถ้วยลายน้ำทอง ในช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ 2 โดยมีสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ทรงเป็นผู้ส่งเสริมสำคัญในการใช้เครื่องถ้วยลายน้ำทอง ที่เป็นที่นิยมในพระราชสำนักในช่วงนั้น

ความเชื่อเกี่ยวกับยักษ์
ยักษ์ในความเชื่อของไทยได้รับอิทธิพลมาจากความเชื่อในศาสนาพราหมณ์และพุทธ เป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่ง มีการแบ่งยศถาบรรดาศักดิ์ เป็นระดับชั้นตามแต่บุญบารมี หากเกิดโมโหโกรธาขึ้นเขี้ยวก็จะงอกออกมา เราคนไทยเองคงคุ้นชินกับรูปวาดจิตรกรรมหรือรูปปั้น ประติมากรรมของยักษ์ในวัดวาอารามต่าง ๆ โดยตามตำนานเล่าว่า ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าได้เทศน์สั่งสอนยักษ์ให้ลดทิฐิมานะ ยักษ์ที่ได้ฟังเทศน์และซึ้งในรสพระธรรมจึงได้กลางมาเป็นผู้อุปถัมภ์คำชูพระพุทธศาสนาเปรียบเสมือนเป็นผู้ปกป้องคุ้มครองสถูปสถาน และอาคารศักดิ์สิทธิ์

นอกจากนี้ยังมีตำนานพญายักษ์ที่ปรากฏอยู่ในตราประจำจังหวัด หรือ รูปชั้นตามหัวเมือง เช่น ท้าวเวสสุวรรณ ผู้เป็นใหญ่ในหมู่ยักษ์ ซึ่งมีความหมายเป็นนัยยะว่า เป็นเทพยดาผู้คุ้มครองรักษาเมือง ประจำทิศอุดร และ ยังมีหลักฐานความเชื่อว่าคนไทยโบราณเอง ก็มีการนำเอาผ้ายันต์รูปยักษ์มาผูกไว้ที่หัวเตียง หรือ ประตู เพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้าย ที่จะเข้ามารังควาญ หรือ บางสายความเชื่อที่มัก จะใช้รูปหน้ายักษ์เป็นของขลังเหนี่ยวทรัพย์ ตามความเชื่อโบราณที่เขียนยันทึกไว้ว่า "ยักษ์นั้นเป็นผู้มีทรัพย์มาก มีความสามารถ ในการค้นหาและรักษาทรัพย์

ตัวอย่างลายเขี้ยวยักษ์