ที่มา ลายพิกุลทอง

ลายพิกุลทอง

มีลักษณะการวางโครงคล้ายกับจำพวกลายก้านต่อดอกหรือพุ่มข้าวบิณฑ์ คือวางดอกไม้ไว้จุดกึ่งกลางและจึงผูกลายต่อไปโดยรอบ แต่ตัดทอนให้เรียบง่ายกว่าคล้ายกับการตัดทอนของลายข้าวหลามตัด หรือลายหยดเทียน และใช้สีทองวาดดอกพิกุลตรงกึ่งกลาง บางสำนักสกุลช่างอาจมีการผูกลายเถาล้อมรอบควบคู่ไปด้วย สันนิษฐานว่า แต่ดั่งเดิมนั้นลายดอกพิกุลมีต้นกำเนิดมาจากลายทอผ้ายกลำพูนในอดีตโดยมีลักษณะแบบแผนการทอเป็นรูปทรงเรขาคณิต ประกอบด้วยทรงกลมตรงกลาง และสามเหลี่ยม ต่อมาได้มีการพัฒนาแตกออกเป็นลวดลายอื่นๆตามมา อาทิ พิกุลเครือ , พิกุลมีขอบ , พิกุลก้านแย่ง , พิกุลกลม พิกุลสมเด็จ เป็นต้น หรือในลายเครื่องถ้วยเบญจรงค์ก็มีประยุกต์ลายดอกพิกุลแตกออกมาอีกหลายแบบ อาทิเช่น ลายพิกุลแก้วที่ตัดทอนมาจากแบบดอกพิกุลดั้งเดิมในมีความโปร่งดูสบายตามากขึ้น ลงสีเบจสบายตาและมักจะเว้นสีพื้นหรือเลือกใช้โทนสีหวาน และใช้สีทองตัดเส้นดอก

ดอกพิกุล(ล้านนา)

หรือที่ภาคกลางเรียกว่าดอกแก้วเป็นดอกไม้หน้าหนาว มีกลิ่นหอมเย็น ลักษณะเป็นดอกเล็กกลีบแหลม ละมีสีขาวล้านนามีการนำดอกไม้ชนิดนี้มาถวายบูชาพระทั้งแบบสดและแบบตากแห้ง มีการนำดอกไม้ชนิดนี้มาบดละใช้ทำเป็นผงธูป หรือใช้ดอกแห้งแช่น้ำกับฝักส้มป่อยเพื่อให้น้ำมีกลิ่นหอม เรียกว่า “มุรธาทิพย์” ใช้ในความเชื่อเรื่องเสกขจัดปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกไปแถมยังใช้ในการขอขมาผู้หลักผู้ใหญ่ได้อีกด้วย

นอกจากนี้ในคติความเชื่อทั้งพราหมณ์และพุทธยังมีความเชื่อว่าเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์อยู่ในสวนของพระอินทร์ ด้วยเหตุนี้คนไทยเองจึงมักจะนำดอกพิกุลมาใช้กระกอบราชพิธีมงคลต่างๆ ในราชสำนักไทย เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีโสกันต์ เป็นต้น ละได้มีการทำดอกพิกุลเงิน พิกุลทอง จำลองมาโปรยในงานพระราชพิธีในสมัยัตนโกสินทร์ “ด้วยความเชื่อที่ว่าเจ้านายผู้เป็นองค์ประธานนั้นอยู่ในสภาวะสมมติเทพที่ได้อุบัติลงมาจากสวรรค์ การโปรยดอกพิกุลจึงเสมือนกับการที่องค์สมมติเทพทรงโปรยดอกไม้จากสวรรค์ลงมาให้มนุษย์ได้ชื่นชม”และได้ถือเป็นธรรมเนียมปฎิบัติสืบเนื่องกันมาช้านานสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อเชิงสัญลักษณ์เกี่ยวกับไม้ดอกมงคลที่มีต่อราชสำนักไทยมาแต่โบราณ

คนไทยสมัยก่อนมีก็ได้รับความเชื่อนี้สืบต่อกันมาว่าหากปลูกต้นพิกุลไว้ในบริเวณบ้านจะทำให้คนในบ้านที่พักอาศัยมีอายุมั่นขวัญยืนเนื่องจากต้นพิกุลเป็นไม้ยืนต้นแข็งแรงทนทานและมีอายุยืน ดังนั้นจึงมักนำมาใช้ประโยชน์ในงานพิธีมงคลขึ้นบ้าน อาทิ เสาบ้าน พวงมาลัยเรือ และอีกหนึ่งข้อสังเกตคือดอกพิกุลมีกลีบดอกจำนวนมาก ซึ่งมีลักษณะคล้ายดอกเบญจมาศของจีน ซึ่งอาจเป็นการผสมผสานแนวคิดเรื่องความเป็นมงคลกับวัฒนธรรมร่วมไทย-จีนที่มีอิทธิพลเป็นผลสืบเนื่องกันไปก็เป็นได้

ตัวอย่างลายพิกุลทอง

Boonyarat Benjarong Boonyarat Benjarong